วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อการสอน

ความหมายของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน

ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอนความหมายของสื่อเมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium")คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม" นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารความหมายของสื่อการสอนเมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อการสอน" กับคำในภาษาอังกฤษ จะมีความหมายตรงกับคำว่า "instructional media" หรือบางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า "สื่อการศึกษา (educational media) " ด้วยเช่นกันพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำว่า "สื่อการศึกษา" ไว้ดังนี้ " (นาม) วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา"นักวิชาการด้านการศึกษาได้นิยามความหมายของคำว่า "สื่อการสอน หรือ สื่อการศึกษา" ไว้ดังต่อไปนี้T. Newby และคณะ (1996) รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "Channels of communication that carry messages with an instructional purpose; the different ways and means by which information can be delivered to learner." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ช่องทางต่างๆ ของการสื่อสาร ซึ่งนำพาสารต่างๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ด้วยเส้นทางและวิธีการที่สามารถนำพาสารสนเทศไปนำส่งให้ถึงผู้เรียนได้"Fred Percival และ Henry Ellington (1984) ได้ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "The physical tools of educational technology, including printed words, film, tape, records, slides and the various combinations thereof." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "เครื่องมือต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา อันได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์ ฟิลม์ เทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง สไลด์ และการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้งานร่วมกัน"กิดานันท์ มลิทอง (2540) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาโสตทัศนศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น เทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี"สุโชติ ดาวสุโข และสาโรจน์ แพ่งยัง (2535) อาจารย์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร และรองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้ หรือช่วยในการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียน การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "วัสดุ เครื่องมือ และ/หรือ วิธีการ ที่จะนำหรือถ่ายทอดสารไปยังผู้รับ"ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ (2523) ศาสตราจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้คำจำกัดความของสื่อการศึกษาไว้ว่า "ระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษา ความรู้ แก่ผู้เรียน" ส่วนคำว่า สื่อการสอน หมายถึง (2523 : 112) "วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ) ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติและค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ"ดังนั้น สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ที่

ประเภทของสื่อการสอน

ประเภทของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials) 1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
ภาพเขียน (Drawing)
ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
ภาพตัด (Cut-out Pictures)
สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
ภาพถ่าย (Photographs)
ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
สไลด์ (Slides)
ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
ภาพยนตร์ (Video Tape)

2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
แผนภูมิ (Charts)
กราฟ (Graphs)
แผนภาพ (Diagrams)
โปสเตอร์ (Posters)
การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
รูปสเก็ช (Sketches)
แผนที่ (Maps)
ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มี
หุ่นจำลอง (Models)
ของตัวอย่าง (Specimens)
ของจริง (Objects)
ของล้อแบบ (Mock-Ups)
นิทรรศการ (Exhibits)
ไดออรามา (Diorama)
กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
การสาธิต (Demonstrations)
การทดลอง (Experiments)
การแสดงแบบละคร (Drama)
การแสดงบทบาท (Role Playing)
การแสดงหุ่น (Pupetry)
ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
จอฉายภาพ (Screen)
เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

การออกแบบสื่อการสอน

การออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้ 1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่ 2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ 3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน 4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน 5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่ 6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่ 7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี 8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่ 9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่ 10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
อ้างอิง : กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวตกรรม.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาภรณ์มหาวิทยาลัย , 2540. พฤติพงษ์ เสกศิริรัตน์.การออกแบบสื่อการสอน.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,มปป. วรรณา เจียมทะวงษ์.ทักษะพื้นฐานของการผลิตสื่อการสอน.ครั้งที่3.ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา.วิทยาลัยครูพระนคร,2532 วารินทร์ รัศมีพรหม.สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,2531. สุนันท์ สังข์อ่อง.สื่อการสอนและนวัตกรรมทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:O.S. PRINTING HOUSE CO,LTD,2526.

การใช้สื่อการเรียนการสอน

การใช้สื่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
การใช้สื่อการสอนประกอบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษามีความสำคัญและจำเป็นเช่นเดียวกับการศึกษาระดับอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางคนเห็นว่า สื่อการสอนมีความสำคัญน้อย หรือไม่เห็นความสำคัญของสื่อการสอน นิยมที่จะสอนโดยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว ที่จริงนั้นสื่อการสอนเป็นเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สอนประสบผลสำเร็จในการสอน ทำให้ผู้เรียนพอใจ สนใจ และสนุกสนาน สื่อการสอนจะเป็นสื่อกลางที่ทำให้เนื้อหาบทเรียนที่ยากกลับง่ายขึ้น ทำให้บทเรียนที่ซับซ้อนชัดเจนขึ้น (สุนันท์ ปัทมาคม, 2520, หน้า150)
จากการวิจัยเรื่องความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนโดย สุชาติ ใจสุภาพ (2532) พบว่า อาจารย์ทุกสาขาวิชาเห็นว่าสื่อการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนมาก ช่วยให้เข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น เร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดี และช่วยประหยัดเวลาในการสอน
Exton William (1974b อ้างถึงใน ปินส์ สุขศีล, หน้า42) ได้แบ่งการใช้สื่อการสอนในระดับอุดมศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการเรียนการสอนคือ
1. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย
2. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย
3. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ
4. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย ลักษณะของการเรียนการสอนแบบบรรยายนั้น ผู้สอนจะเป็นศูนย์กลาง ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้สอน สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยสอน กล่าวคือ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ในตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ในการทำให้สื่อการสอนนั้นสมบูรณ์ขึ้น สื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนแบบบรรยายควรมีลักษณะ
1.1 มีขนาดเหมาะสมกับห้องเรียน
1.2 ผู้เรียนสามารถมองเห็น หรือได้ยินชัดเจนทั่วถึง
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยจะเน้นที่ผู้ร่วมกลุ่มเป็นหลัก การเรียนเน้นการออกความเห็น โดยเริ่มที่ผู้สอนแล้วจึงโยงไปสู่การอภิปรายในกลุ่มที่เป็นบทบาทของผู้เรียน จากนั้นจึงเป็นการรายงานสรุปผลการอภิปราย สื่อการสอนที่ใช้กับการเรียนการสอนในลักษณะนี้ได้แก่ 2.1 การใช้แผ่นโปร่งใสเพื่ออธิบายก่อนแยกกลุ่ม หรือใช้กระดานชอล์ก 2.2 การใช้สื่อการสอนเพื่อประกอบการอภิปราย เช่น แผนภูมิ รูปภาพ
เป็นต้น 2.3 การสรุป สามารถใช้เอกสารสิ่งพิมพ์หรือแผนภูมิ เป็นต้น
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ การเรียนการสอนแบบปฏิบัติการเน้นการปฏิบัติจริง สื่อการสอนที่นำมาใช้ได้แก่ 3.1 ขั้นตอนตัวอย่างกิจกรรมปฏิบัติการ ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนเห็นจริงได้ โดยใช้สื่อการสอนประเภท เทปโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสาธิต เป็นต้น 3.2 ในขั้นตอนลงมือปฏิบัติการ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะเป็นวัสดุที่ใช้ฝึกปฏิบัติและใบสั่งงาน
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ สื่อการสอนในลักษณะนี้จะแตกต่างจาก 3 ประเภทแรก เนื่องจากในประเภทนี้ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียน สื่อการสอนจะทำหน้าที่แทนผู้สอน มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยการศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการสอนนั้น ๆ สื่อการสอนที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนรายบุคคลนี้ ได้แก่ ชุดการสอน (Package) บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed text) และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer assisted instruction) เป็นต้น

การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน

การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอนในการประเมินผลสื่อการสอน มีสิ่งสำคัญที่ควรทำการประเมิน 3 สิ่ง คือ การวางแผนการใช้สื่อการสอน การนำเสนอหรือการใช้สื่อการสอน และผลของการใช้สื่อการสอนที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งแต่ละอย่างมีรายละเอียดดังนี้ (กิดานันท์, 2540: 96)1. การประเมินผลการวางแผนการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาว่า เมื่อนำสื่อการสอนไปใช้จริง ในภาพรวมมีสิ่งใดบ้างที่เป็นไปตามแผนหรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนนี้เพื่อเป็นการพิจารณาในภาพรวมหมดทั้งระบบของการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการวางแผนการใช้สื่อการสอนในภาพรวมครั้งต่อไป ให้การใช้สื่อการสอนเกิดความสอดคล้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ข้อมูลที่ได้จะสะท้อนให้เห็นข้อดีหรือข้อบกพร่องของแต่ละขั้นตอนของการวางแผนการใช้สื่อการสอน ว่าได้มีการนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพิจารณาในขั้นการวางแผนอย่างครบถ้วนหรือไม่ หรือสิ่งที่นำมาพิจารณานั้นถูกต้องหรือไม่ 2. การประเมินผลกระบวนการของการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาเฉพาะในขั้นตอนของการนำสื่อการสอนไปใช้เพื่อนำเสนอเนื้อหาหรือให้ประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียน โดยพิจารณาในแต่ละช่วงของการใช้สื่อการสอนนั้นประสบผลสำเร็จ หรือประสบปัญหาใดหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนได้ยินเสียงของสื่ออย่างชัดเจนทั่วถึงหรือไม่ ภาพมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากตำแหน่งที่นั่งของผู้เรียนทุกคนหรือไม่ ผู้เรียนมีระดับความสามารถในการอ่านเพียงพอที่จะอ่านข้อความที่นำเสนอในบทเรียนคอมพวเตอร์ช่วยสอนได้หรือไม่ เป็นต้น 3. การประเมินผลสิ่งที่เกิดจากการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียนหลังจากการใช้สื่อการสอน โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะประเมินว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนหรือไม่ ซึ่งส่วนมากวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนมักจะเขียนไว้ในรูปแบบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม การประเมินผลสื่อการสอนในกรณีนี้จะเป็นการประเมินว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้เพื่อการประเมินผลการใช้สื่อการสอนวิธีการที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินผลสื่อการสอนนั้นมีหลากหลาย วิธีการที่นิยมใช้ เช่น การอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองก. การอภิปรายในชั้นเรียน เป็นกิจกรรมที่ทำหลังจากที่กระบวนการเรียนการสอนได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อการสอนที่ใช้โดยเฉพาะ จะได้ข้อมูลที่เป็นผลย้อนกลับไปสู่การประเมินการวางแผนการใช้สื่อการสอน และกระบวนการใช้สื่อการสอนข. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ในที่นี้อาจเป็นการสัมภาษณ์โดยการสนทนา หรือการใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการที่ค่อนข้างสะดวก และนิยมใช้กันมากค. การสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้จะต้องทำในช่วงที่มีการใช้สื่อการสอน และสิ่งสำคัญคือ ผู้สังเกตการณ์ควรจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือมีความชำนาญในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตง. การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญในการเลือกใช้วิธีนี้ในการประเมินสื่อการสอน คือ การเลือกผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน ต้องเลือกผู้ที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ในการประเมินจ. การทดลอง เป็นการประเมินผลสื่อการสอนที่ทำในรูปแบบของการวิจัย หากมีการออกแบบรูปแบบการวิจัย (Research Design) มาเป็นอย่างดีข้อมูลการประเมินผลสื่อการสอนด้วยวิธีการนี้มักจะได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะมีการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มา:(http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=1&sub2=1)

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก

3.การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก
ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิค ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ วัสดุ + กราฟิกวัสดุ หมายถึงสิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้นกราฟิก หมายถึงการแสดงด้วยลายเส้นวัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็วประเภทของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกมีหลายประเภทซึ่งสามารถจำแนกออกได้ตามแนวคิดของ วิททิช และชูลเลอร์ ซึ่งได้แบ่วัสดุกราฟิกไว้เป็น 8 ประเภทดังนี้แผนภูมิ (Chart)แผนภาพ (Diagrams)แผนสถิติ (Graphs)ภาพโฆษณา (Posters)การ์ตูน (Cartoons)แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)สัญลักษณ์ (Symbol)รูปภาพ (Photographic) ตัวอย่างวัสดุกราฟิก 5 ชิ้นการ์ตูน (Cartoons) เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ การ์ตูน(Cartoons) เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใน ให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน

สัญลักษณ์ (Symbol) คือการสื่อความหมายที่ให้มนุษย์ ในสังคมเข้าใจร่วมกัน
ในแนวทางเดียวกัน โดยการออกแบบ เป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ในลักษณะ
ภาพลายเส้น การเขียนสัญลักษณ์ อาจใช้วิธีลอกแบบ เลียนแบบจากธรรมชาติ
รูปภาพ(Photographic) เป็นงานกราฟิกประเภทหนึ่ง ที่ต้องอาศัยหลักการทางศิลปะ เช่นเดียวกันประกอบ กับเครื่องมือเพื่อใช้ใน การถ่ายภาพ คือ กล้องถ่ายภาพนั่นเอง กล้องถ่ายภาพในปัจจุบันมีมากมาย หลายรูปแบบ
แผนที่(Maps and Globe) เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้น สี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วนเพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว

http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/graphic_material/graphic_mate rial.htm

หลักการออกแบบ (ส่งPowerPoint)

หลักการออกแบบ Content ที่เหมาะสมใน PowerPoint เช่น การเลือกขนาดของตัวอักษร ขนาดของ Font จำนวน Bullet ต่อหน้า ฯลฯ
การค้นหา Template ที่สวยงามแบบมืออาชีพ เพื่อให้ Presentation ออกมาดูดีกว่าการใช้ Template ปกติในโปรแกรม
เทคนิคการเลือกใช้ Animation Effect ที่ดูแบบมืออาีชีพ
เทคนิคการควบคุมการฉาย Presentation แบบมืออาชีพ เช่น การข้ามบางสไลด์ไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้จบทันกับเวลา โดยผู้ฟังจะไม่ทราบเลยว่าคุณได้ข้ามบางสไลด์ไป หรือการซ่อนตัวชี้เมาส์ให้หายไป หรือการแสดงปากกาเพือขีดเขียนเน้นข้อความสำคัญให้กับผู้ฟัง หรือการปิด Presentation เพื่อดึงความสนใจของผู้ชมกลับมาหาที่ตัวผู้บรรยาย ฯลฯ
การคำนวณหาเวลาทั้งหมดใที่จะต้องใช้ในการ Present ว่าจะใช้เวลาเท่าใด เพื่อให้การบรรยายจบได้พอดีกับเวลา
การสร้างชุดบรรยายสไลด์แบบกำหนดเอง โดยไม่ต้องลบหรือซ่อนสไลด์แต่อย่างใด เหมาะสำหรับที่จะเลือกบรรยายเฉพาะบางสไลด์แบบมีเวลาจำกัด

ภาพตัวอย่างสื่อวัสดุกราฟิก 5 ชิ้น












วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550