วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

ภาวะโรคร้อน


ภาวะโลกร้อน คือ ?
โลกร้อน คืออะไร ?
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases)ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่ม ีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ
ภาพจาก Global Warming Exhibition of National Academy of Science (US)
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
สำหรับภาพของผลกระทบ จากภาวะโลกร้อน สามารถดูได้จากลิ้งค์ในหน้านี้ครับ http://www.whyworldhot.com/an-inconvenient-truth-global-warming/

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

การจำคำศัพท์แบบง่ายๆ10 ข้อ

เคล็ดลับ 10 ข้อในการจำศัพท์ภาษาอังกฤษ เบื่อไหมเมื่อนึกถึงการที่ต้องท่องจำศัพท์ภาษาอังกฤษซะมากมายใช่มั้ย? ที่จริงการท่องศัพท์ไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่ทำให้ปวดหัวหรือเหนื่อยใจเสมอไปหรอก เชิญอ่านเคล็ดลับในการเรียนศัพท์ดังต่อไปนี้แล้วนำไปใช้รับรองได้ผล !
1. ความเกี่ยวเนื่อง: ถ้าคุณจัดคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผังจะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้นคุณสมบัติพิเศษ
2. เขียน: การนำคำศัพท์นั้นมาใช้จะทำให้คุณจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น ลองเขียนแต่งประโยคโดยนำศัพท์ใหม่ที่เรียนนั้นมาประกอบหรือแต่งเรื่องโดยใช้กลุ่มคำศัพท์หรือสำนวนที่เรียนอยู่
3. วาดรูป: ดึงวิญญาณศิลปินในตัวคุณออกมาใช้โดยการวาดรูปที่แสดงถึงศัพท์ที่คุณเรียนอยู่ ภาพที่คุณวาดจะช่วยกระตุ้นความทรงจำถึงศัพท์นั้นในอนาคต
4. แสดง: แสดงท่าทางประกอบคำศัพท์หรือสำนวนที่คุณกำลังเรียนอยู่ หรือจินตนาการว่าคุณจะแสดงออกอย่างไรในสถานการณ์ที่คุณต้องใช้ศัพท์คำนั้น
5. สร้าง: ออกแบบ flashcards ศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายแล้วเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง ทำเล่มใหม่ขึ้นทุกอาทิตย์และอย่าลืมทบทวนอันเก่าไปพร้อมๆ กันด้วย
6. ความสัมพันธ์: กำหนดแต่ละสีให้แต่ละคำศัพท์ ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่จะช่วยให้คุณจำศัพท์นั้นได้แม่นขึ้นเมื่อนึกถึงคำนั้นในคราวต่อไป
7. ฟัง: นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับคำศัพท์ใหม่ที่คุณพยายามเรียนอยู่ ใช้ความสัมพันธ์ตรงจุดนี้ในการช่วยให้คุณจำการออกเสียงของคำใหม่นั้น
8. เลือก: จำไว้ว่าการเรียนในหัวข้อที่คุณชอบหรือสนใจจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น ฉะนั้นคุณควรใส่ใจในการเลือกคำศัพท์ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์หรือน่าสนใจ เพราะแม้แต่กระบวนการเลือกคำที่จะเรียนก็มีผลให้คุณจำได้แม่นและเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน !
9. ข้อจำกัด: คุณก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนเราจะจำศัพท์ที่มีอยู่ในดิกชันนารี่ทั้งหมดได้ในวันเดียว เพราะฉะนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 30 คำก็พอแล้ว ซึ่งถ้าพยายามจำให้มากคำเกินไปกว่านี้แทนที่มันจะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจกลับจะทำให้คุณสมองตื้อแทน
10. สังเกต: พยายามสังเกตหาคำศัพท์ที่คุณกำลังเรียนอยู่เมื่ออ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ

เคล็ดลับการจำ

เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆนักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1.เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจแต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2.จากนั้นให้ปิดหนังสือ!แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเองฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่องแสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำเช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจเรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย





เครื่องช่วยสอนทางการได้ยินเสียง

หูฟัง Stereo Headphone ไมโครโฟน ไมโครโฟนแบบ, Condensor

ไมโครโฟน


เครื่องขยายเสียงแบบกระเป๋าหิ้ว







ตัวอย่างเครื่องช่วยในการสอนทางการมองเห็น

Projector โปรเจ็คเตอร์
เครื่องฉายสไลด์

เครื่องฉายโอเวอร์เฮด



โทรศัพท์ในแต่ละสมัย

ภาพนี้คือภาพเปรียบเทียบระหว่างโทรศัพท์ในอดีตและปัจจุบัน





บิดาแห่งนวัตกรรม เทคโนโลยีของไทยเรา


ขอพระองค์พระชนมายุยืนนานและเป็นมิ่งขวัญแก่ปวงชนชาวไทยทั้งปวงชั่วนิจนิรันดร์

สิ่งที่ควรรู้เพื่อการประหยัดน้ำมันในยุคเศรษฐกิจตกต่ำแค็บซูลมหัศจรรย์


ชื่อสินค้า :
สินค้านวัตกรรมใหม่ แห่งการประหยัดน้ำมัน ในยุคน้ำมันแพง!!
แก้ไขล่าสุด :
30/06/2007
รหัสสินค้า :
ffi01
ราคา :
ปกติ 1,200.00 ฿ ลดเหลือ 900.00 ฿
ยี่ห้อ :

รุ่น :

รายละเอียด :
สินค้านวัตกรรมใหม่ แห่งการประหยัดน้ำมัน ในยุคน้ำมันแพง!!ขายตรง แค็บซูลประหยัดน้ำมัน ที่ดังทั่วโลกเพราะเติมครึ่งแค็ปซูล ** ประหยัดไปประมาณ 200-300 บาท ซึ่งเท่ากับได้กำไรเพิ่มขึ้น หรือประหยัดเงินในกระเป๋าในการใช้น้ำมัน เพียง 1 ปีจึงขยายไปทั่วโลก 120 กว่าประเทศ ประเทศไทย กำลังจะเปิดเร็วๆนี้ กำลังหาเพื่อนร่วมงานต่างจังหวัด* สินค้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีระดับสูงของทีมนักวิทยาศาสตร์นาซ่า USA * มียอดสั่งซื้อจากทั่วทุกมุมโลก 180 กว่าประเทศ มา 1 ปีแล้ว * ใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เพียงใส่ในช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของ รถยนต์ / รถจักรยานยนต์ / รถบรรทุก/เรือ / อาร์วี / เอทีวี / เครื่องกำเนิดไฟฟ้า / เครื่องมือขนาดหนัก/ยานยนต์ที่ใช้แล่นบนหิมะ/เครื่องยนต์หนักอุตสาหกรรม * 1-2 เม็ด มีความเข้มข้นต่อการเติมน้ำมันเต็มถัง ( 70 ลิตร) * รู้ผลด้วยตัวคุณเองตั้งแต่เริ่มใช้เป็นครั้งแรก * มีอัตราการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 10-30% * ลดเขม่าควันดำ-ควันขาวของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ * ป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัดขณะใช้รอบสูง * เพิ่มอัตราเร่งของเครื่องยนต์ให้ดีขึ้น * สตาร์ทติดง่าย แม้เวลาเครื่องเย็น * ทำให้เครื่องยนต์เดินเงียบลง * ช่วยหล่อลื่น ยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ * ใช้ได้กับเครื่องยนต์ทุกชนิด ( เบนซิน / ดีเซล / แก๊สโซฮอลล์ ) * ส่วนผสมเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ 100% * ไม่ทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่ออากาศของโลก * ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก กองควบคุมมลพิษ อเมริกา EPA ใบรับรองที่ EPA Reg # 201220001 * ใช้ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่มีความรู้ในเรื่องเครื่องยนต์ก็สามารถใช้ได้ * มีวงเงินคุ้มครองความเสียหายของเครื่องยนต์ที่เกิดจากการใช้สินค้าตัวนี้ 2 ล้านU$ โดยบริษัทประกันภัยระดับโลก>>> วิธีการใช้• ในการเติมเต็มถัง 2 ถังแรก ใส่ถังละ 1 แค็ปซูล( ถังประมาณ 60 ลิตร) ถังต่อๆ ใส่ 1/2 แค็ปซูล(ครึ่งแค๊ปซูล) ในการเติมเต็มถัง 1 ถัง• ใช้ได้กับน้ำมันทุกชนิด เครื่องยนต์ทุกชนิด เช่น เบนซิน ดีเซล และแก็สโซฮอลล์• สำหรับมอเตอร์ไซด์ให้ผสมในน้ำมัน 1 แค็ปซูลต่อ น้ำมัน 70 ลิตร และเติมใส่ถัง• สำหรับเครื่องยนต์อื่น ๆ คำนวณตามสัดส่วนที่เหมาะสมตามขนาดของถังน้ำมัน>>> การตลาด• เลือกใช้ระบบการตลาดแบบ MLM • เป็นบริษัท MLM ที่มีอัตราเติบโตเร็วที่สุดในโลก!!!• มีสาขาเป็นทางการหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน แคนาดา ออสเตรเลีย และมีการส่งสินค้าไปแล้วไม่น้อย 120 ประเทศทั่วโลก• สั่งซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต จ่ายเงินสั่งซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิต • บริษัทจ่ายคอมมิชชั่นกลับมาโดยการส่งผ่านบัตรเดบิต กดตามตู้ ATM ที่มีเครื่องหมายPLUS ได้ทั่วโลก (บริษัทจัดทำบัตรเดบิตให้)• มีผู้ประสบผลสำเร็จสูงสุด หลังทำมาระยะเวลา 1 ปี มีรายได้ สัปดาห์ละ $250,000 หรือประมาณ 10 ล้านบาท• จ่าย Matching 20% ในชั้นลูก 20% ในชั้นหลาน 10% ในชั้นเหลน รวมทั้งสิ้น 50% ยิ่งแนะนำมาก ยิ่งมีโอกาสมีรายได้มาก•แผนการตลาดไม่เอาเปรียบผู้จำหน่ายไม่ล้างยอดเมื่อตัดรอบโบนัส สะสมยอดคงเหลือไว้ในรอบต่อไป• ไบนารี่ ข้างอ่อน 300 คะแนน ข้างแข็ง 600 คะแนน จ่ายโบนัส $50 หรือประมาณ 2000 บาท ยอดคะแนนที่เหลือสะสมไว้ • จ่ายสูงสุด สัปดาห์ละ $25,000 หรือประมาณ 950,000 บาทต่อรหัสต่อสัปดาห์

พระบิดาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไทย

พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยมาตรฐานเวลาไทย ประวัติศาสตร์เวลาไทย หอเวลาแห่งแรกของประเทศอยู่ที่ไหน การเฉลิมพระเกียรติพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แสดงถึงพระอัจฉริยภาพอันที่มาของ การเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาของนวัตกรรมไทย สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรก็คือ "ปัญญา" นิทรรศการที่แสดงให้เห็นกระบวนการคิดของพระองค์ในการใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ และแนวทางที่ชาวพสกนิกรจะนำไปประยุกต์ใช้ "ตามรอยพ่อ...คิดต่อยอด" บทบาทของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงสนพระทัยและสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศภาพเหตุการณ์จากการวิจัยและรวบรวมจากทุกมุมโลกทำให้ทุกคนได้ตระหนักถึงผลจากการกระทำของมนุษย์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติ (อังกฤษ) คาราวานวิทยาศาสตร์ที่เดินทางอยู่ในประเทศออสเตรเลียมาให้เยาวชนไทยได้ชมเป็นครั้งแรก โอกาสการเปิดโลกความสนุกกับการเรียนรู้ปรากฏการณ์วิทยาศาสตร์จากชิ้นงานกว่า 30 ชิ้น (ออสเตรเลีย) 7,000 ปีนวัตกรรมจีน ที่มาของเทคโนโลยีของชาติตะวันออก เช่น โอ่งวัดแผ่นดินไหวโบราณ เกวียนวัดระยะ จัดคู่กับ 3,000 ปีนวัตกรรมไทย ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์ของจีน อุปกรณ์ช่วยคนพิการ ความหลากหลายทางชีวภาพ หุ่นยนต์ และการแพทย์แผนจีน (รอรายละเอียดจากท่านที่ปรึกษากรรณภว์) เก็บตกไอน์สไตน์ ภาพยนต์แอนิเมชั่นที่อธิบายทฤษฎีต่างๆ ของไอน์ไสตน์ในหนึ่งนาที (ไอน์สไตน์) เวทีพับเครื่องร่อนกระดาษ ประลองความสามารถในการแข่งขันเครื่องบินพับกระดาษให้สามารถลอยในอากาศได้นานที่สุด"สัมผัสประสบการณ์อุบัติภัย ใกล้ตัวคุณ!" จำลองสภาพของธรรมชาติ เพื่อสื่อถึงอุบัติภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ให้ผู้ชมงานได้สัมผัสด้วยประสบการณ์จริง พร้อมทราบถึงวิธีการป้องกันและเอาตัวรอดอย่างถูกต้องในสถานการณ์ต่างๆ พบกับ 4D Animation และ Media Light & Sound presentation "แผ่นดินไหว มหันตภัยใต้ผืนโลก" ร่วมเหตุการณ์และทดลองประสบการณ์ แผ่นดินไหว แรงสั่นสะเทือนที่น่าหวาดวิตก "สู่ใจกลางอัคคีภัย!" ตื่นเต้นและสัมผัสกับเพลิงไหม้ที่ไฟโหมลุก ไอร้อนและควันไฟ 4D Theatre : "มหาพายุกระหน่ำ ธรรมชาติพิโรธ!" เดินทางเข้าไปสู่กลางมหาพายุกระหน่ำแบบ 4D สังคมสีเขียวบนแนวทางแห่งความเพียง (GREEN ON SUFFICIENCY SOCIETY) พอจำลองภาพสังคม ผ่านจินตนาการและเรียนรู้ ถึงสังคมที่สะอาด ปราศจากมลภาวะ บนเส้นทางแห่งเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นสังคมที่ยึดถือแนวทางของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างพอดี มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ควบคู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550

ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี


คำว่า เทคโนโลยี ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
คำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง ิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น

ที่มาของคำว่าเทคโนโลยี

คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เท๕โนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีคือวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

ค่าของคน



มีคำพูดว่า… ค่าของสัตว์อยู่ที่ร่างกาย ค่าของหญิงชายอยู่ที่คุณความดี
วัวควายช้างม้า เกิดมากินขี้ปี้นอน เหมือนมนุษย์ แม้จะไม่ทำกิจการงานอันใด แต่เวลาตาย กระดูกเขางาหนัง ยังเป็นประโยชน์ ทำเป็นเครื่องประดับก็ได้ ทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ก็ได้ เนื้อนำมาบริโภคได้…แล้วคนเราเล่าถ้าไม่ทำคุณความดี มีอะไรเป็นประโยชน์บ้าง…ซ้ำคนยังกลัวว่าเป็นผี ต้องใส่เตาเผา หรือไปทิ้งไว้ในป่าช้า…อนิจจา ! มนุษย์เราเอ๋ย…
มีคำโคลงโลกนิติว่า (สำนวนเก่า)
อาหารการหลับแล มีแก่ชายโคนาม ชายไววิทยางาม แม้เสื่อมศิลปศาสตร์รู้
เสพกามนับผู้เห็นแปลกใดแฮ เปรียบด้วยฝูงโค
สัตว์โลกทั้งมวลมีเหมือนกันอยู่ 3 อย่าง

1. การกิน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต มีกำลังต่อสู้อยู่ในโลกได้

2. การสืบพันธุ์ เพื่อขยายเผ่าพันธุ์

3. การนอน เพื่อพักผ่อนเอาแรงไว้ต่อสู้ในวันข้างหน้าต่อไป

(4) การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เพื่อขับถ่ายเทของเสียออก (เพิ่มมาให้สมบูรณ์)
ทั้งหมดนี้มีอยู่ในคนและสัตว์เดรัจฉาน….….แต่สิ่งที่ทำให้คน หรือที่เรียกว่า "มนุษย์ " คือผู้มีจิตใจสูงแตกต่างจากสัตว์ คือ

1. รู้จักเหตุ รู้จักผลของความดี ความชั่ว เจริญ หรือเสื่อม

2. รู้จักแสวงหาความรู้ ทั้งทางโลก ทางธรรม

3. รู้จักตน คือ รู้เขารู้เรา

4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดี ในการใช้ปัจจัยสี่

5. รู้จักกาลคือ รู้จักเวลาไหนควรพูดควรทำอย่างไร

6. รู้จักเลือกคบบุคคล คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว- คบคนชั่วพาตัวอัปราชัย
...เกิดเป็นคนต้องทำที่พึ่งให้กับตัวเอง....
การพึ่งตน ก็คือ ทำตัวเองให้เป็นที่พึ่ง ทำตัวเองให้เป็นเกาะ ที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป้องกันอันตรายได้ ผู้นั้นจะต้องมีหลักถึง 5 ประการ
1. การศึกษาเกิดเป็นคนต้องศึกษาหาความรู้อยู่ร่ำไป ดังคำกล่อนว่า…
คนจะดีนั้นต้องฝึกและศึกษากายวาจาต้องอบรมบ่มนิสัยต้องฝึกจิตให้แน่นหนักเป็นหลักชัยชนะภัยสารพัดสวัสดี
2. ต้องมีการงานการงานคือ หน้าที่ที่ต้องทำ และรับผิดชอบ เพื่อความเจริญของชาติบ้านเมือง ดังคำกลอนว่า…
เงินงานการศึกษาควรหาก่อนอย่ารีบร้อนเรียนรักจักเสียผลถ้าขาดงานก็ขาดเงินพลันอับจนเกิดเป็นคนต้องทำงานจึงมีเงิน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา


สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวิชานี้ คือ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการเขียนเส้น การเขียนภาพ และการระบายสีภาพวาด และวาดภาพด้วยปากกาโดยที่ไม่ต้องมีการร่างภาพไว้ก่อน เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Power point และการสร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม Photoshop และการสร้างBloggerของตนเอง เพื่อเก็บข้อมูล ในการอบรม และการเรียนวิชานี้เป็นประโยชน์อย่างมากที่จะนำความรู้ไปใช้สอนนักเรียนในอนาคตไดอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการสร้างบล็อก


วิธีการสร้างบล็อก

สร้างเว็บบล็อก(Blogger)
1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/จะแสดงหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล๊อกของท่านเดี๋ยวนี้
2.เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎเป็นรูปเว็บบล็อก
3. ให้ใส่รายละเอียด-ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail มาแล้วก่อนหน้านี้)-Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง-Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)-พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง-คลิกดำเนินต่อไป4.จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน-คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้ไปหรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้ และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัต ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป5.จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตามต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไปต่อไปกดเริ่มต้นการส่งบทความทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า Google AdSense ยังไม่รองรับเว็บไซต์ภาษาไทย แต่ในอนาคตคาดว่า ทาง Google AdSense จะยอมรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย ดังนั้น ควรนำเว็บบล็อกที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษมาทำการสมัครให้ผ่านก่อน โดยไปหาเนื้อหาภาษาอังกฤษ ได้ที่นี่ โดยคุณควรจะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งhttp://en.wikipedia.org/wiki/Main_pagehttp://www.goarticles.com/http://www.contentmart.com/http://www.superfeature.com/http://www.freshcontent.net/
ถึงตอนนี้คุณก็จะมีบล็อกส่วนด้วยไว้ทำเงินกับกูเกิลอย่าลืมจดจำคือ
1.อีเมลล์ของ gmail
2.URL เว็บบล็อก เช่น http://makemoneynetonline.blogspot.com/

บทกลอนสอนชีวิต

บางครั้งคนเราก็ต้องการมีบทกลอนไว้สอนชีวิตตนเองในขณะที่ตนเองคิดว่าชีวิตกำลังเดินทางไปในทางที่ผิด

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550

การตัดภาพโดยใช้ Lasso Tool


การตัดภาพด้วย majic wand tool






การเรียน Photoshop

..การเรียน..Photoshop..
Photoshopเป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพ..การทำงานเป็น Layer คือหัวใจสำคัญของ Photoshop..การตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้...File > New..กำหนดค่า Width, Height (ควรเปลี่ยนหน่วยก่อนกำหนดตัวเลข), Resolotion(ความละเอียด)..กำหนด Mode........RGB เป็นสีของแสง สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสี ก็คือโหมด......CMYK..C = Cyan สีฟ้า..M= Mageta สีม่วงแดง..Y=Yellow สีเหลือง..K=Black สีดำ..กำหนดContent......Background......White พื้นสีขาว......Transparent พื้นโปร่งแสงการตัดภาพ..การตัดภาพใช้เครื่องมือได้ดังนี้........Elliptical Marquee tool..คลิกแล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเส้น selection..เมื่อขึ้นเส้น selection แล้วไปที่ Edit > Copy ไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป......Polygonal Lasso Tool..คลิกที่ภาพแล้วปล่อย..แล้วคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ..ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออก> คลิกที่พื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น selection แล้วลบออก...ใช้ยางลบเพื่อลบพื้นหลังที่เหลือ..การบันทึกงานสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้..File > save as > เลือกนามสกุลที่ต้องการบันทึก..เช่น....นามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่....นามสกุล JPEG เป็นการบันทึกที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว ไม่เปลืองพื้นที่....นามสกุล GIF เป็นการบันทึกที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ติดพื้นหลังมาด้วยFilter..เมื่อได้ภาพที่ต้องการแล้ว ใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้....ไปที่ Filter สามารถเลือกได้หลากหลาย..เมื่อเลือกแล้ว คลิก OK..ภาพนั้นก็จะเปลี่ยนจากภาพเดิมเป็นไปตามที่เลือก..ดูตัวอย่างภาพที่ my style..my photoshop..

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อการสอน การใช้สีไม้



เนื้อหาที่ครูสามารถนำมาใช้ในการสอนมีดังนี้

What's fruit do you like?

I like babana.

Vocabbulary

Orange ............... ส้ม

Rambutan................. เงาะ

Watermelon................... แตงโม

Mangoesteen............มังคุด

วัตถุประสงค์

เพื่อสอนคำศัพท์และบทสนทนาเรื่องผลไม้

นักเรียนสามารถนำไปใช้สนทนาในชีวิตประจำวันได้

สื่อการสอนนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ 1-2

การเรียนโปรแกรม Photoshop

ตัวอย่างภาพที่ตัดเร็จ
ตัวอย่าง Filter Emboss.jpg









...การใช้ Filter...

........การใช้ Filterเมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่นไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OKสามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ......Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้
ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือ...............Width : กำหนดความกว้าง...............Height :กำหนดความสูงควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm..............Resolotion : กำหนดเป็น 300Mode
:..............กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง.............สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสีก็คือโหมด CMYK* C = Cyan สีฟ้า* M= Mageta สีม่วงแดง* Y=Yellow สีเหลือง* K=Black สีดำ* Content กำหนด BackgroundWhite พื้นจะเป็นสีขาวTransparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสง
............การเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการ
.....การตัดภาพ.....
การตัดภาพการตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่น
ไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselectเมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อน
......การทำภาพเพิ่ม.....
1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่2. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom
3. กด Shift ย่อภาพที่มุม
4. Ctrl +T
5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหาย
.....ขั้นตอนการตกแต่งภาพ.....
1. Double คลิก Layer2 จะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน
2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลง
......การแก้ไขงาน..... ทำได้ 2 วิธี คือ
1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย
2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไข.....การตัดพื้นการใช้ Polygonal Lasso Tool.....คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อยตกแต่ง
.....การบันทึกงาน.....สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้1. เลือกเมนู File > Save as
2. กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save
3. กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd2. การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะเป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อการสอน

ความหมายของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน

ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอนความหมายของสื่อเมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium")คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม" นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารความหมายของสื่อการสอนเมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อการสอน" กับคำในภาษาอังกฤษ จะมีความหมายตรงกับคำว่า "instructional media" หรือบางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า "สื่อการศึกษา (educational media) " ด้วยเช่นกันพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำว่า "สื่อการศึกษา" ไว้ดังนี้ " (นาม) วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา"นักวิชาการด้านการศึกษาได้นิยามความหมายของคำว่า "สื่อการสอน หรือ สื่อการศึกษา" ไว้ดังต่อไปนี้T. Newby และคณะ (1996) รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "Channels of communication that carry messages with an instructional purpose; the different ways and means by which information can be delivered to learner." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ช่องทางต่างๆ ของการสื่อสาร ซึ่งนำพาสารต่างๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ด้วยเส้นทางและวิธีการที่สามารถนำพาสารสนเทศไปนำส่งให้ถึงผู้เรียนได้"Fred Percival และ Henry Ellington (1984) ได้ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "The physical tools of educational technology, including printed words, film, tape, records, slides and the various combinations thereof." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "เครื่องมือต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา อันได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์ ฟิลม์ เทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง สไลด์ และการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้งานร่วมกัน"กิดานันท์ มลิทอง (2540) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาโสตทัศนศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น เทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี"สุโชติ ดาวสุโข และสาโรจน์ แพ่งยัง (2535) อาจารย์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร และรองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้ หรือช่วยในการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียน การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "วัสดุ เครื่องมือ และ/หรือ วิธีการ ที่จะนำหรือถ่ายทอดสารไปยังผู้รับ"ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ (2523) ศาสตราจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้คำจำกัดความของสื่อการศึกษาไว้ว่า "ระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษา ความรู้ แก่ผู้เรียน" ส่วนคำว่า สื่อการสอน หมายถึง (2523 : 112) "วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ) ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติและค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ"ดังนั้น สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ที่

ประเภทของสื่อการสอน

ประเภทของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials) 1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
ภาพเขียน (Drawing)
ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
ภาพตัด (Cut-out Pictures)
สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
ภาพถ่าย (Photographs)
ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
สไลด์ (Slides)
ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
ภาพยนตร์ (Video Tape)

2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
แผนภูมิ (Charts)
กราฟ (Graphs)
แผนภาพ (Diagrams)
โปสเตอร์ (Posters)
การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
รูปสเก็ช (Sketches)
แผนที่ (Maps)
ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มี
หุ่นจำลอง (Models)
ของตัวอย่าง (Specimens)
ของจริง (Objects)
ของล้อแบบ (Mock-Ups)
นิทรรศการ (Exhibits)
ไดออรามา (Diorama)
กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
การสาธิต (Demonstrations)
การทดลอง (Experiments)
การแสดงแบบละคร (Drama)
การแสดงบทบาท (Role Playing)
การแสดงหุ่น (Pupetry)
ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
จอฉายภาพ (Screen)
เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

การออกแบบสื่อการสอน

การออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้ 1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่ 2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ 3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน 4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน 5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่ 6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่ 7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี 8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่ 9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่ 10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
อ้างอิง : กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวตกรรม.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาภรณ์มหาวิทยาลัย , 2540. พฤติพงษ์ เสกศิริรัตน์.การออกแบบสื่อการสอน.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,มปป. วรรณา เจียมทะวงษ์.ทักษะพื้นฐานของการผลิตสื่อการสอน.ครั้งที่3.ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา.วิทยาลัยครูพระนคร,2532 วารินทร์ รัศมีพรหม.สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,2531. สุนันท์ สังข์อ่อง.สื่อการสอนและนวัตกรรมทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:O.S. PRINTING HOUSE CO,LTD,2526.

การใช้สื่อการเรียนการสอน

การใช้สื่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
การใช้สื่อการสอนประกอบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษามีความสำคัญและจำเป็นเช่นเดียวกับการศึกษาระดับอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางคนเห็นว่า สื่อการสอนมีความสำคัญน้อย หรือไม่เห็นความสำคัญของสื่อการสอน นิยมที่จะสอนโดยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว ที่จริงนั้นสื่อการสอนเป็นเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สอนประสบผลสำเร็จในการสอน ทำให้ผู้เรียนพอใจ สนใจ และสนุกสนาน สื่อการสอนจะเป็นสื่อกลางที่ทำให้เนื้อหาบทเรียนที่ยากกลับง่ายขึ้น ทำให้บทเรียนที่ซับซ้อนชัดเจนขึ้น (สุนันท์ ปัทมาคม, 2520, หน้า150)
จากการวิจัยเรื่องความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนโดย สุชาติ ใจสุภาพ (2532) พบว่า อาจารย์ทุกสาขาวิชาเห็นว่าสื่อการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนมาก ช่วยให้เข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น เร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดี และช่วยประหยัดเวลาในการสอน
Exton William (1974b อ้างถึงใน ปินส์ สุขศีล, หน้า42) ได้แบ่งการใช้สื่อการสอนในระดับอุดมศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการเรียนการสอนคือ
1. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย
2. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย
3. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ
4. สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย ลักษณะของการเรียนการสอนแบบบรรยายนั้น ผู้สอนจะเป็นศูนย์กลาง ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้สอน สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยสอน กล่าวคือ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ในตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ในการทำให้สื่อการสอนนั้นสมบูรณ์ขึ้น สื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนแบบบรรยายควรมีลักษณะ
1.1 มีขนาดเหมาะสมกับห้องเรียน
1.2 ผู้เรียนสามารถมองเห็น หรือได้ยินชัดเจนทั่วถึง
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยจะเน้นที่ผู้ร่วมกลุ่มเป็นหลัก การเรียนเน้นการออกความเห็น โดยเริ่มที่ผู้สอนแล้วจึงโยงไปสู่การอภิปรายในกลุ่มที่เป็นบทบาทของผู้เรียน จากนั้นจึงเป็นการรายงานสรุปผลการอภิปราย สื่อการสอนที่ใช้กับการเรียนการสอนในลักษณะนี้ได้แก่ 2.1 การใช้แผ่นโปร่งใสเพื่ออธิบายก่อนแยกกลุ่ม หรือใช้กระดานชอล์ก 2.2 การใช้สื่อการสอนเพื่อประกอบการอภิปราย เช่น แผนภูมิ รูปภาพ
เป็นต้น 2.3 การสรุป สามารถใช้เอกสารสิ่งพิมพ์หรือแผนภูมิ เป็นต้น
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ การเรียนการสอนแบบปฏิบัติการเน้นการปฏิบัติจริง สื่อการสอนที่นำมาใช้ได้แก่ 3.1 ขั้นตอนตัวอย่างกิจกรรมปฏิบัติการ ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนเห็นจริงได้ โดยใช้สื่อการสอนประเภท เทปโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสาธิต เป็นต้น 3.2 ในขั้นตอนลงมือปฏิบัติการ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะเป็นวัสดุที่ใช้ฝึกปฏิบัติและใบสั่งงาน
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ สื่อการสอนในลักษณะนี้จะแตกต่างจาก 3 ประเภทแรก เนื่องจากในประเภทนี้ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียน สื่อการสอนจะทำหน้าที่แทนผู้สอน มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยการศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการสอนนั้น ๆ สื่อการสอนที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนรายบุคคลนี้ ได้แก่ ชุดการสอน (Package) บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed text) และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer assisted instruction) เป็นต้น

การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน

การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอนในการประเมินผลสื่อการสอน มีสิ่งสำคัญที่ควรทำการประเมิน 3 สิ่ง คือ การวางแผนการใช้สื่อการสอน การนำเสนอหรือการใช้สื่อการสอน และผลของการใช้สื่อการสอนที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งแต่ละอย่างมีรายละเอียดดังนี้ (กิดานันท์, 2540: 96)1. การประเมินผลการวางแผนการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาว่า เมื่อนำสื่อการสอนไปใช้จริง ในภาพรวมมีสิ่งใดบ้างที่เป็นไปตามแผนหรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนนี้เพื่อเป็นการพิจารณาในภาพรวมหมดทั้งระบบของการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการวางแผนการใช้สื่อการสอนในภาพรวมครั้งต่อไป ให้การใช้สื่อการสอนเกิดความสอดคล้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ข้อมูลที่ได้จะสะท้อนให้เห็นข้อดีหรือข้อบกพร่องของแต่ละขั้นตอนของการวางแผนการใช้สื่อการสอน ว่าได้มีการนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพิจารณาในขั้นการวางแผนอย่างครบถ้วนหรือไม่ หรือสิ่งที่นำมาพิจารณานั้นถูกต้องหรือไม่ 2. การประเมินผลกระบวนการของการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาเฉพาะในขั้นตอนของการนำสื่อการสอนไปใช้เพื่อนำเสนอเนื้อหาหรือให้ประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียน โดยพิจารณาในแต่ละช่วงของการใช้สื่อการสอนนั้นประสบผลสำเร็จ หรือประสบปัญหาใดหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนได้ยินเสียงของสื่ออย่างชัดเจนทั่วถึงหรือไม่ ภาพมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากตำแหน่งที่นั่งของผู้เรียนทุกคนหรือไม่ ผู้เรียนมีระดับความสามารถในการอ่านเพียงพอที่จะอ่านข้อความที่นำเสนอในบทเรียนคอมพวเตอร์ช่วยสอนได้หรือไม่ เป็นต้น 3. การประเมินผลสิ่งที่เกิดจากการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียนหลังจากการใช้สื่อการสอน โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะประเมินว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนหรือไม่ ซึ่งส่วนมากวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนมักจะเขียนไว้ในรูปแบบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม การประเมินผลสื่อการสอนในกรณีนี้จะเป็นการประเมินว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้เพื่อการประเมินผลการใช้สื่อการสอนวิธีการที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินผลสื่อการสอนนั้นมีหลากหลาย วิธีการที่นิยมใช้ เช่น การอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองก. การอภิปรายในชั้นเรียน เป็นกิจกรรมที่ทำหลังจากที่กระบวนการเรียนการสอนได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อการสอนที่ใช้โดยเฉพาะ จะได้ข้อมูลที่เป็นผลย้อนกลับไปสู่การประเมินการวางแผนการใช้สื่อการสอน และกระบวนการใช้สื่อการสอนข. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ในที่นี้อาจเป็นการสัมภาษณ์โดยการสนทนา หรือการใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการที่ค่อนข้างสะดวก และนิยมใช้กันมากค. การสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้จะต้องทำในช่วงที่มีการใช้สื่อการสอน และสิ่งสำคัญคือ ผู้สังเกตการณ์ควรจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือมีความชำนาญในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตง. การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญในการเลือกใช้วิธีนี้ในการประเมินสื่อการสอน คือ การเลือกผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน ต้องเลือกผู้ที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ในการประเมินจ. การทดลอง เป็นการประเมินผลสื่อการสอนที่ทำในรูปแบบของการวิจัย หากมีการออกแบบรูปแบบการวิจัย (Research Design) มาเป็นอย่างดีข้อมูลการประเมินผลสื่อการสอนด้วยวิธีการนี้มักจะได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะมีการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มา:(http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=1&sub2=1)

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก

3.การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก
ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิค ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ วัสดุ + กราฟิกวัสดุ หมายถึงสิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้นกราฟิก หมายถึงการแสดงด้วยลายเส้นวัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็วประเภทของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกมีหลายประเภทซึ่งสามารถจำแนกออกได้ตามแนวคิดของ วิททิช และชูลเลอร์ ซึ่งได้แบ่วัสดุกราฟิกไว้เป็น 8 ประเภทดังนี้แผนภูมิ (Chart)แผนภาพ (Diagrams)แผนสถิติ (Graphs)ภาพโฆษณา (Posters)การ์ตูน (Cartoons)แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)สัญลักษณ์ (Symbol)รูปภาพ (Photographic) ตัวอย่างวัสดุกราฟิก 5 ชิ้นการ์ตูน (Cartoons) เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ การ์ตูน(Cartoons) เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใน ให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน

สัญลักษณ์ (Symbol) คือการสื่อความหมายที่ให้มนุษย์ ในสังคมเข้าใจร่วมกัน
ในแนวทางเดียวกัน โดยการออกแบบ เป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ในลักษณะ
ภาพลายเส้น การเขียนสัญลักษณ์ อาจใช้วิธีลอกแบบ เลียนแบบจากธรรมชาติ
รูปภาพ(Photographic) เป็นงานกราฟิกประเภทหนึ่ง ที่ต้องอาศัยหลักการทางศิลปะ เช่นเดียวกันประกอบ กับเครื่องมือเพื่อใช้ใน การถ่ายภาพ คือ กล้องถ่ายภาพนั่นเอง กล้องถ่ายภาพในปัจจุบันมีมากมาย หลายรูปแบบ
แผนที่(Maps and Globe) เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้น สี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วนเพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว

http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/graphic_material/graphic_mate rial.htm

หลักการออกแบบ (ส่งPowerPoint)

หลักการออกแบบ Content ที่เหมาะสมใน PowerPoint เช่น การเลือกขนาดของตัวอักษร ขนาดของ Font จำนวน Bullet ต่อหน้า ฯลฯ
การค้นหา Template ที่สวยงามแบบมืออาชีพ เพื่อให้ Presentation ออกมาดูดีกว่าการใช้ Template ปกติในโปรแกรม
เทคนิคการเลือกใช้ Animation Effect ที่ดูแบบมืออาีชีพ
เทคนิคการควบคุมการฉาย Presentation แบบมืออาชีพ เช่น การข้ามบางสไลด์ไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้จบทันกับเวลา โดยผู้ฟังจะไม่ทราบเลยว่าคุณได้ข้ามบางสไลด์ไป หรือการซ่อนตัวชี้เมาส์ให้หายไป หรือการแสดงปากกาเพือขีดเขียนเน้นข้อความสำคัญให้กับผู้ฟัง หรือการปิด Presentation เพื่อดึงความสนใจของผู้ชมกลับมาหาที่ตัวผู้บรรยาย ฯลฯ
การคำนวณหาเวลาทั้งหมดใที่จะต้องใช้ในการ Present ว่าจะใช้เวลาเท่าใด เพื่อให้การบรรยายจบได้พอดีกับเวลา
การสร้างชุดบรรยายสไลด์แบบกำหนดเอง โดยไม่ต้องลบหรือซ่อนสไลด์แต่อย่างใด เหมาะสำหรับที่จะเลือกบรรยายเฉพาะบางสไลด์แบบมีเวลาจำกัด

ภาพตัวอย่างสื่อวัสดุกราฟิก 5 ชิ้น












วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550